สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 6
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 375
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 816,067
29 มีนาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
31             
  โครงการ
โรงผลิตกะแสไฟฟ้าจากขยะ
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะที่ไม่สามารถนำมารีไซรเคิลได้(RDF) ซึ่งเป็นระบบการเผาไหม้ แก๊สซิไฟเออร์ (Gasification System) โดยนำ Product  Gas ที่ได้มาสันดาปภายในเครื่องยนต์รอบต่ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
 
จุดเด่นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF คือเมื่อเผาไหม้แล้วจะไม่มีควันลอยสู่ชั้นบรรยากาศ เนื่องจากควันที่เกิดจากการเผาไหม้จะไม่ปล่อยออกจากปล่องแต่จะนำมาทำความสะอาดแล้วแปลงสภาพเป็นแก๊สเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปั่นไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังไม่มีน้ำเสียเพราะต้องนำน้ำกลับมาใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าตลอดเวลา รวมทั้งสามารถนำขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้มาใช้เป็นปุ๋ย ส่วนน้ำที่แยกออกจากขี้เถ้าสามารถนำมาใช้ในระบบหล่อเย็น
( closed cooling )ได้อีกทางหนึ่ง
 
นอกจากนี้วิธีการกำจัดขยะด้วยกระบวนการเผาใหม้แบบธรรมดาก็ยังมีควันลอยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ของบริษัทจึงสามารถตอบสนองในเรื่องของการกำจัดขยะได้ในระดับสูงเพราะไม่มีควัน นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดขยะรวมทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย

เกิดมากจากทีมวิศวกรไฟฟ้า ต้องการทำขยะ ให้เป้นศูนย์

เชื้อเพลิงขยะ (RDF) เป็นการปรับปรุง และแปลงสภาพของขยะมูลฝอย ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีคุณสมบัติในด้าน ค่าความร้อน (Heating Value) ความชื้น ขนาด และความหนาแน่น เหมาะสมในการใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน และมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอ คุณลักษณะทั่วไปของเชื้อเพลิงขยะประกอบด้วย 

  • ปลอดเชื้อโรคจากการอบด้วยความร้อน ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรค
  • ไม่มีกลิ่น
  • มีขนาดเหมาะสมต่อการป้อนเตาเผา-หม้อไอน้ำ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-30 มิลลิเมตร ความยาว 30-150 มิลลิเมตร)
  • มีความหนาแน่นมากกว่าขยะมูลฝอยและชีวมวลทั่วไป (450-600 kg/m3) เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และขนส่ง
  • มีค่าความร้อนสูงเทียบเท่ากับชีวมวล (~ 13-18 MJ/kg) และมีความชื้นต่ำ (~ 5-10%)
  • ลดปัญหามลภาวะจากการเผาไหม้ เช่น NOx และไดออกซินและฟูราน

หลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้ เริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ (โลหะ แก้ว เศษหิน) ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลออกจากขยะรวม ในบางกรณีจะมีการใช้เครื่องคัดแยกแม่เหล็กเพื่อคัดแยกมูลฝอยที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ และใช้เครื่อง Eddy Current Separator เพื่อคัดแยกอลูมิเนียมออกจากมูลฝอย จากนั้นจึงป้อนขยะมูลฝอยไปเข้าเครื่องสับ-ย่อยเพื่อลดขนาด และป้อนเข้าเตาอบเพื่อลดความชื้นของมูลฝอย โดยการใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือลมร้อนเพื่ออบขยะให้แห้งซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลงเกือบ 50% (ความชื้นเหลือไม่เกิน 15%) และสุดท้ายจะส่งไปเข้าเครื่องอัดเม็ด (Pellet) เพื่อทำให้ได้เชื้อเพลิงขยะอัดเม็ดที่มีขนาดและความหนาแน่นเหมาะสมต่อการขนส่งไปจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในบางกรณีจะมีการเติมหินปูน (CaO) เข้าไปกับมูลฝอยระหว่างการอัดเป็นเม็ดเพื่อควบคุมและลดปริมาณก๊าซพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้
 
เชื้อเพลิงขยะสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ตามมาตรฐาน ASTM E-75 ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการจัดการที่ใช้ ประกอบ

ชนิด 

กระบวนการการจัดการ 

ระบบการเผาไหม้ 

RDF : MSW  คัดแยกส่วนที่เผาไหม้ได้ออกมาด้วยมือ รวมทั้งขยะที่มีขนาดใหญ่  Stoker 
RDF2 : Coarse RDF  บดหรือตัดขยะมูลฝอยอย่างหยาบๆ  Fluidized Bed Combustor, 
Multi fuel Combustor 
RDF3 : Fluff RDF  คัดแยกส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ออก เช่น โลหะ แก้วและอื่นๆ มีการบดหรือตัดจนทำให้ 95% ของขยะมูลฝอยที่คัดแยกแล้วมีขนาดเล็กกว่า 2 นิ้ว  Stoker 
RDF4 : Dust RDF 
ขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้ มาผ่านกระบวนการทำให้อยู่ในรูปของผงฝุ่น 
Fluidized Bed Combustor, 
Pulverized Fuel Combustor 
RDF5 : Densified RDF 
ขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้มาผ่านกระบวนการอัดแท่ง โดยให้มีความหนาแน่นมากกว่า 600 kg/m3 
Fluidized Bed Combustor, 
Multi fuel Combustor 
RDF6 : RDF Slurry  ขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้มาผ่านกระบวนการให้อยู่ในรูปของ Slurry  Swirl Burner 
RDF7 : RDF Syn-gas  ขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้ มาผ่านกระบวนการ Gasification เพื่อผลิต Syn-gas ที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงก๊าซได้  Burner, Integreated 
Gasification-Combined 
Cycle (IGCC) 
 
การออกแบบขั้นตอนต่างๆ ในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ถ้าขยะมูลฝอยได้มีการคัดแยกส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่(เช่นโลหะและแก้ว) ได้จากแหล่งกำเนิดก่อนอยู่แล้ว ดังนั้นในกระบวนการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการคัดแยกโลหะหรือแก้วก็ได้ 

โดยทั่วไปขยะจะถูกนำมาคัดแยกส่วนที่นำไปกลับใช้ซ้ำได้ (เช่นโลหะ อลูมิเนียม และแก้ว) และคัดแยกอินทรีย์สาร (เช่น เศษอาหาร) ที่มีความชื้นสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบป้อนเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือผลิตสารปรับปรุงคุณภาพดิน (Soil conditioner) สำหรับส่วนประกอบมูลฝอยที่เหลือจะถูกนำไปลดขนาด ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกระดาษ เศษไม้ พลาสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกระบวนการเผาไหม้โดยตรงในรูปของ Coarse RDF (c-RDF) หรือ RDF ชนิดหยาบ หรือนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้งและการอัดแท่งเพื่อผลิตเป็น Densified RDF (d-RDF) ในการพิจารณาว่าจะผลิตขยะเชื้อเพลิงชนิดใดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของระบบการเผาไหม้ สถานที่ที่ตั้งระหว่างที่ผลิตเชื้อเพลิงขยะ และสถานที่ที่ใช้งาน 

สัดส่วนของปริมาณขยะเชื้อเพลิง (RDF) ที่ผลิตได้ต่อปริมาณขยะมูลฝอย 1 ตัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บขยะ กระบวนการที่ใช้ในการแปรรูปขยะ และคุณภาพของเชื้อเพลิงขยะที่ต้องการ จากรายงานของ European Commission Directorate General Environment พบว่าสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงขยะจะอยู่ในช่วงระหว่าง 23-50% โดยน้ำหนักของขยะที่ป้อนเข้า 

ปริมาณของขยะเชื้อเพลิงในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (European Union) มีประมาณ 3 ล้านตันต่อปี โดยมีประเทศที่ได้มีการศึกษาและพัฒนาการแปรรูปขยะเป็นขยะเชื้อเพลิงมาอย่างต่อเนื่องได้แก่ ออสเตรีย ฟินแลนด์ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน นอกจากนี้ประเทศเบลเยี่ยมและสหราชอาณาจักรกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา 

ประเทศที่มีการศึกษาและพัฒนาการแปรรูปขยะเป็นขยะเชื้อเพลิงมากอีกประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีโรงงานแปรรูปขยะเป็นขยะเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 2.5 ตัน/วัน ไปจนถึง 390 ตัน/วัน ขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการขยะในแต่ละพื้นที่ โดยทั่วไปแล้วโรงผลิตเชื้อเพลิงขยะจะมีกำลังการผลิตประมาณ 50 ตัน/วัน 


องค์ประกอบของเชื้อเพลิงขยะ จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของขยะที่นำมาแปรรูป วิธีการจัดเก็บ และกระบวนการที่ใช้ในการแปรรูป คุณลักษณะที่สำคัญของขยะเชื้อเพลิงหลังจากการแปรรูปแล้ว ได้แก่ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และปริมาณซัลเฟอร์และคลอไรด์ นอกจากนี้การแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงจะช่วยลดความชื้น ส่งผลให้ค่าความร้อนขยะมีค่าสูงขึ้นด้วย
 


การใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงขยะ สามารถใช้ได้ทั้งในรูปผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน โดยที่อาจจะมีการใช้ประโยชน์ในสถานที่ผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือขนส่งไปใช้ที่อื่น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เผาร่วมกับถ่านหิน (Co-firing) เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินลงในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมซีเมนต์ โดยมีรูปแบบเตาเผาที่ใช้เปลี่ยนเชื้อเพลิงขยะให้เป็นพลังงานความร้อน ประกอบด้วย เตาเผาแบบตะกรับ (Stoker) เตาเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Combustor) หรือเตาเผาแก็สซิฟิเคชั่น (Gasification) หรือไพโรไลซิส (Pyrolysis)
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทน

  
รุ่นและขนาดที่ทางบริษัทรับสร้างโรงผลิตไฟฟ้า

200 Kw-1,000 Kw ปริมาณขยะที่ใช้ 50 ตัน ถึง 250 ตัน
 

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
โครงการ
- รุ่น 7: 500 และ 1000 KG/HR ระบบอัดอากาศ เตาเผาขยะชุมชน ติดเชื้อ อุตสาหกรรม
- รุ่น 6: 500,1000,2000 KG/HR ระบบน้ำ เตาเผาขยะชุมชน ติดเชื้อ อุตสาหกรรม และสามารถผลิตกะแสไฟฟ้าได้
- รุ่น 5: 200,300,500,1000 KG/HR ระบบน้ำ เตาเผาขยะชุมชน ติดเชื้อ อุตสาหกรรม
- รุ่น SH4:100 KG/HR ระบบน้ำ เตาเผาขยะชุมชน ติดเชื้อ อุตสาหกรรม
- รุ่น SH3: 50 และ 70 KG/HR เตาเผาขยะระบบอัดอากาศ
- รุ่น SH2: 50 KG/HR เตาเผาขยะระบบอัดอากาศ
- รุ่น SH1: 15และ 30 KG/HR เตาเผาขยะระบบอัดอากาศ
- เตาเผาขยะติดเชื้อ 100- 325 Kg/Hr
- โครงการเตาเผาเขยะ ของทางบริษัท ได้รับการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับ 1 ของเวียดนาม
- โครงการเตาเผาเขยะ ของทางบริษัท ได้รับการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับ 1 ของเวียดนาม
ดูทั้งหมด

Copyright by sankyo-asia.com
Engine by MAKEWEBEASY